Sidebar
Sidebar
Head Top
3 สูตร พื้นฐานจัดการเงิน ออมเงินยังไง? ไม่ให้ล้มกลางทาง ตั้งแต่เริ่มทำงาน ถึง วางแผนเกษียณ
Ads test

3 สูตร พื้นฐานจัดการเงิน ออมเงินยังไง? ไม่ให้ล้มกลางทาง ตั้งแต่เริ่มทำงาน ถึง วางแผนเกษียณ

หลายคนอยากวางแผนการเงิน แต่พอลงมือจริงกลับรู้สึกว่า “ทำไมมันยากจัง” บางคนอ่านหนังสือการเงินมาเป็นสิบเล่ม ดูคลิป YouTube เป็นร้อยคลิป หรือโหลดแอปจดบัญชีไว้เต็มเครื่อง

แต่สุดท้าย แผนการเงินที่คิดไว้ ก็ยังอยู่แค่ในหัว หรือไม่ก็พังตั้งแต่สิ้นเดือนแรก ถ้าเคยเจอปัญหาแบบนี้ ลองเริ่มต้นใหม่ด้วยวิธีง่าย ๆ กับ 3 สูตร พื้นฐาน การบริหารจัดการเงินรายเดือน ที่ตั้งแต่ คนเริ่มต้น วัยทำงาน ถึง กลุ่มคนอยากวางแผนเกษียณ สามารถนำไปปรับใช้ได้ 

3 สูตรออมเงิน ทฤษฎีพื้นฐาน ที่ใครก็ทำตามได้ 

สูตรที่ 1 :  20-30-50 (เหมาะกับสาย “เพิ่งเริ่มต้น” ไม่ต้องคิดเยอะ )

วิธีการออมเงินง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นทำกันได้ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือทักษะทางการเงิน โดยเริ่มต้นบริหารจัดการได้ตามนี้

  • 20% เงินออมสำหรับอนาคต เช่น เงินออมสำรองฉุกเฉิน เงินออมเพื่อการเกษียณ เป็นต้น
  • 30% เงินใช้เพื่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เป็นต้น
  • 50% เงินใช้ที่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าอาหาร ชำระหนี้ เป็นต้น

สูตรที่ 2 : ออมเงินอย่างมั่นคงด้วยสูตรการเงิน 6 ส่วน

(เหมาะสำหรับคนที่เริ่มจับทางได้ และอยากบริหารเงินให้รอบด้าน)

สูตรนี้เป็นการบริหารการเงินที่จะแบ่งรายจ่ายและเงินออมด้วยกัน 6 ส่วน

  • กระปุกที่ 1 เงินออมสำหรับชีวิตหลังเกษียณ 15%
  • กระปุกที่ 2 เงินออมในการลงทุน 10%
  • กระปุกที่ 3 เงินออมเพื่อใช้แสวงหาความรู้ 10%
  • กระปุกที่ 4 เงินใช้เพื่อความจำเป็น 55%
  • กระปุกที่ 5 เงินเพื่อให้รางวัลแก่ตนเอง 5% แบ่งเงินจากรายรับมาให้รางวัลตนเองเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อขอบคุณที่ทุ่มเทและพยายามมาในทุก ๆ เดือน
  • กระปุกที่ 6 เงินเพื่อการบริจาค 5% แบ่งเงินเพื่อบริจาค หรือทำบุญในทุก ๆ เดือน ซึ่งส่วนนี้จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย

สูตรที่ 3 : วางแผนระยะยาวจนเกษียณ (เหมาะกับคนที่เริ่มคิดเรื่อง “ชีวิตหลังวัยทำงาน”)

 

การวางแผนเกษียณควรตั้งเป้าหมายทางการเงิน และประเมินรายจ่ายในอนาคตของตนเองคร่าว ๆ ว่า หากเกษียณไปแล้วจะต้องมีเงินเท่าไหร่ และถ้าจะต้องใช้เงินจำนวนเท่านี้ จะต้องออมเงินต่อเดือนเท่าไหร่ โดยจะมีสูตรการคำนวณนิดหน่อย โดยคิดดังนี้ 

(อายุที่คาดว่าจะมีชีวิต – อายุเกษียณ) x รายจ่ายต่อปี ÷ ระยะเวลาที่เหลือในการหาเงิน = จำนวนเงินที่ต้องเก็บออม

ตัวอย่าง : ถ้าอยากเกษียณตอนอายุ 60 และอยากมีชีวิตถึง 80 ปี เราต้องใช้เงินเท่าไหร่?

สมมุติ เราจะใช้ปีละ 200,000 บาท

(80-60) x 200,000 ÷ จำนวนปีที่ยังทำงานได้

เช่น เหลือเวลาเก็บเงินอีก 30 ปี = ต้องเก็บปีละ 133,333 บาท หรือ เดือนละ 11,111 บาท นั่นเอง

สุดท้ายแล้ว แผนการเงินที่ดีที่สุด ไม่ใช่แผนที่วางเป๊ะที่สุด แต่อาจเป็นแค่แผนที่เหมาะกับเรา และสามารถเริ่มลงมือทำได้ทันที ต่างหาก 

ที่มา : บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ 

อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance 

 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : 3 สูตร พื้นฐานจัดการเงิน ออมเงินยังไง? ไม่ให้ล้มกลางทาง ตั้งแต่เริ่มทำงาน ถึง วางแผนเกษียณa



squareADS
squareADS
ข่าวราคาทอง
Ads test